The Community Journey :
การทำกระบะสำหรับคนปลูกผัก

           เมื่อปลายปีที่แล้วได้มีโอกาสจัดเวิร์กช็อป (Workshop) “งานไม้เบื้องต้น” ภายใต้การสนับสนุนของ FabLab Bangkok โดยมีผู้ร่วมกิจกรรม คือ สมาชิกเครือข่ายผู้ประกอบการเกษตรอินทรีย์ในเมืองบนฐานเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Urban Farming Business Network)

          เนื่องจากเป็นการจัดเวิร์กช็อป (Workshop) ของตัวเองครั้งแรก ก็เลยไม่มั่นใจว่าจะออกมาถูกใจผู้ร่วมกิจกรรมขนาดไหน แต่สุดท้าย…ทุกคนก็จบคอร์สเรียนอย่างมีความสุขพร้อมกับนำของที่ตัวเองได้ลงมือทำตลอดทั้งวันกลับบ้านอย่างมีความสุข

          กิจกรรมเริ่มขึ้นตอน 09.30 น. ในระหว่างที่รอให้ทุกคนมากันครบนั้นก็มีการพูดคุย แนะนำตัวกันนิดหน่อย ซึ่งก็ทำให้รู้ว่ากลุ่มผู้ร่วมกิจกรรมนั้นมาจากหลากหลายสาขาอาชีพ แต่มีความสนใจทางด้าน Circular Urban Farming คล้าย ๆ กัน ก็เลยมีโอกาสได้รวมตัวกันทำกิจกรรมร่วมกัน รวมถึงคอร์สกระบะปลูกผักนี้ด้วย

        สำหรับโจทย์ของเวิร์กช็อป (Workshop) คือ กระบะปลูกผักที่สามารถขนขึ้นรถเก๋งกลับบ้านได้ แต่มีเงื่อนไขที่ยากกว่า ก็คือ ผู้ร่วมกิจกรรมเองก็ไม่มีพื้นฐานทางด้านนี้เลย ส่วนใหญ่แล้วไม่มีประสบการณ์ ไม่คุ้นเคยกับการใช้งานอุปกรณ์แต่ละประเภทและก็กลัวอันตรายจากการใช้เครื่องมือ แต่ก็มีความสนใจที่อยากจะลงมือทำสิ่งต่าง ๆ ด้วยตัวเอง ติดอยู่ที่ไม่รู้จะเริ่มจากตรงไหน ก็เลยไม่เคยได้ลองทำหรือเริ่มซักที

” เราจะไม่มีทางรู้เลยว่าเราสามารถทำสิ่งนั้นได้ หากเราไม่ได้ลงมือทำจริงๆ และหลาย ๆ ครั้ง …ความไม่รู้ก็ทำให้เราความกลัวที่จะลงมือทำและทำให้เราพลาดประสบการณ์เหล่านั้นไป…”

       พราะคำว่าไม่รู้ ไม่มีเคยทำ ไม่มีประสบการณ์ ไม่กล้า ก็เลยเป็นที่มาของการจัดเวิร์กช็อป (Workshop) หรือคอร์สในวันนี้นั่นเอง ไม่รู้ไม่เป็นไร…ปล่อยหัวให้โล่ง ๆ แล้วไปลงมือทำกันเลย

ปรับพื้นฐานด้วยการเล่าถึงที่มา ชนิด/ประเภทของไม้และวัสดุต่าง ๆ ที่ใช้ในกิจกรรม รวมถึงวัสดุที่มีความใกล้เคียงกัน เพื่อให้เห็นภาพรวมและสามารถเลือกซื้อวัสดุได้ตรงกับจุดประสงค์ของการใช้งาน

ไม้ เป็นวัสดุหลักที่ถูกใช้ในการจัดกิจกรรมในวันนี้ ในท้องตลาดบ้านเราก็มีหลากหลายขนาด หลากหลายเกรดและก็หลากหลายราคาให้เลือกใช้ หากเข้าใจว่าแต่ละชนิดมีข้อดี-ข้อเสียเสียยังไง ก็จะเลือกใช้ได้เหมาะสมและคุ้มค่ากับฟังก์ชั่นก์การใช้งานมากที่สุด

” ไม้พาเลท ” คือ หนึ่งในตัวเลือกที่น่าสนใจสำหรับการทำกระบะปลูกต้นไม้เนื่องจากเป็นวัสดุรีไซเคิล มีราคาถูก มีที่มาจาก “ พาเลทไม้ ” ที่เป็นอุปกรณ์สำหรับใช้รองรับสินค้า จัดเก็บสินค้าในการขนส่ง เป็นเเท่นที่มีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมขนาดต่างๆ เมื่อหมดอายุการใช้งานก็จะถูกรื้อเป็นแผ่น มีตำหนิของรอยตะปูจากการประกอบและกลายเป็น “ ไม้พาเลท ”

” ออกแบบให้เหมาะกับการใช้งาน ภายใต้ข้อจำกัดที่มี… “

ไม้พาเลท เป็นวัสดุที่มีความยาวไม่แน่นอน ขึ้นอยู่กับผู้ผลิตว่าต้องการใช้งานขนาดเท่าไหร่ ตอนถอดมาขายก็จะมีขนาดคละกันไป ดังนั้น…การออกแบบกระบะก็ควรจะให้สอดคล้องกับข้อจำกัดของวัสดุที่มี ส่งผลต่อการกำหนดความกว้างและความยาวของกระบะไม้ หากเรากำหนดขนาดในขั้นตอนการออกแบบไม่เหมาะสมก็จะทำให้เกิดวัสดุเหลือทิ้ง ใช้งานได้ไม่คุ้มค่า

              อีกหนึ่งสิ่งสำคัญที่ขาดไม่ได้ คือ การเข้าใจในวิธีทำงานอย่างปลอดภัย ซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดในการเข้าห้องปฏิบัติงาน (Workshop) ก่อนเริ่มลงมือปฏิบัติผู้ร่วมกิจกรรมจะได้รับการถ่ายทอดหลักการใช้งาน ประเภทของอุปกรณ์/เครื่องมือต่าง ๆ อย่างถูกวิธี เพื่อความปลอดภัยของตัวเองและผู้คนรอบข้าง

” ช่วงแรก ๆ สังเกตได้ถึงความกังวล ก่อนใช้เครื่องมือต้องมีคนประกบ หลัง ๆ มาคือใช้งานได้เองอย่างคล่องแคล่วและกลายเป็นผู้สอนคนอื่นต่อได้เลย”

เครื่องมือมีหลายประเภท แต่ละตัวมีข้อดี-ข้อเสียที่แตกต่างกัน ไม่มีตัวไหนดีที่สุด มีแต่คำว่าเหมาะที่สุด เมื่อเข้าใจก็เลือกใช้ได้ถูกต้อง กล้าใช้มากขึ้นและสร้างสรรค์ได้ตามที่ตัวเองตั้งใจ สังเกตได้จากผู้ร่วมกิจกรรมหลาย ๆ คน ช่วงแรกยังตกใจกับเสียงเครื่องเลื่อยไฟฟ้า จะใช้แต่เลื่อยมือ พอเข้าใจการทำงานที่ถูกต้อง แต่ช่วงท้ายของเวิร์กช็อป (Workshop) กลับเลือกที่จะใช้แต่เลื่อยไฟฟ้า

” การประกอบ ” เป็นอีกขั้นตอนที่ขาดไม่ได้และมีความสำคัญไม่แพ้ขั้นตอนอื่น ๆ แม้ว่าเราจะออกแบบได้ดีแค่ไหนหรือตัดเตรียมชิ้นงานต่าง ๆ ที่จำเป็นไว้ทั้งหมดแล้วแล้ว แต่ถ้าเราไม่รู้วิธีหรือเลือกใช้วัสดุอุปกรณ์ยึดประกอบที่เหมาะสมแล้วนั้น งานที่เราวางแผนและลงมือทำไว้ก็จะไม่มีทางประสบความสำเร็จได้ ดังนั้น… การเข้าใจในวิธีและวัสดุสำหรับการยึดประกอบที่เหมาะสม จะช่วยให้ชิ้นงานหลังการประกอบมีความแข็งแรง สามารถใช้งานได้ยาวนานและเหมาะสมกับฟังก์ชั่นที่เราต้องการและวางแผนไว้ 

การจัดเวิร์กช็อป (Workshop) จบลงอย่างมีความสุข ผู้ร่วมกิจกรรมทุกคนได้รับกระบะปลูกผักที่ตัวเองได้ลงมือทำกลับไปใช้งานที่บ้านพร้อมกับความรู้ ความเข้าใจ เทคนิคการเลือกใช้เครื่องมือให้เหมาะสมกับงาน หลักการใช้งานเครื่องมือได้อย่างปลอดภัย และอีกสิ่งที่ขาดไม่ได้การความภูมิใจ ความมั่นใจในตัวเองที่สามารถลงมือทำในสิ่งที่เคยคิดว่าทำไม่ได้จนประสบความสำเร็จ สำหรับคนที่สนใจ ในปีนี้…เรามีกิจกรรมดี ๆ แบบนี้ตลอดทั้งปีให้ได้เข้าร่วม

ติดตามกันได้ที่

Facebook Fanpage : FabLab Bangkok หรือ KX Knowledge Xchange

เพื่อไม่พลาดกิจกรรมดี ๆ ที่รออยู่

ขอบคุณที่ติดตามจนจบ

 

สวัสดีครับ 1st (FabLab Maker)

Recommended Posts

No comment yet, add your voice below!


Add a Comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *